fbpx
EnglishThaiChinese (Simplified)ArabicRussian

– TNSC 1/2023 / PDPA

– TNSC 1/2023 / PDPA

นโยบายของวิทยาลัยนานาชาติด้านข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อ ใน

Thailand Negotiation and Sales Competition 2022

ในฐานะที่วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้จัดโครงการ Thailand Negotiation and Sales Competition 2022 (TNSC 2022) เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 วิทยาลัยนานาชาติจึงมีประกาศเพื่อชี้แจงนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการโครงการ TNSC 2022 โดยระบุขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโครงการในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ ดังนี้

1. คำนิยาม

“วิทยาลัยนานาชาติ” หมายความว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

“โครงการ” หมายความว่า โครงการแข่งขัน Thailand Negotiation and Sales Competition 2022 (TNSC 2022)

ที่จัดโดยวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่า

ทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

“พระราชบัญญัติฯ” หมายความว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติฯ และกฎที่เกี่ยวข้อง

“เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติฯ และกฎที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ประมวลผลข้อมูล” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติฯ

“ผู้เข้าแข่งขัน” หมายความว่า ผู้สมัครเข้าแข่งขันในโครงการ TNSC 2022

“กรรมการ” หมายความว่า ผู้สมัครเข้าทำหน้าที่เป็นกรรมการในการแข่งขัน TNSC 2022

“ผู้ซื้อ” หมายความว่า ผู้สมัครเพื่อรับบทบาทสมมุติเป็น “ผู้ซื้อ” ในการแข่งขัน TNSC 2022

“ผู้เข้าร่วมงาน“ หมายความรวมถึง ผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ ผู้ซื้อ ทีมงานผู้จัดโครงการ ตลอดจนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ TNSC 2022

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยาลัยนานาชาติเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อ โดยตรงจากกระบวนการรับสมัครเข้าร่วมโครงการ การลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของโครงการ

วิทยาลัยนานาชาติอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อ เพิ่มจากหน่วยงานหรือสถาบันอื่น เช่น มหาวิทยาลัย บริษัทหรือต้นสังกัดของกรรมการ ผู้ซื้อ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้เป็นไปตามความจำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 24 หรือ 26 ของพระราชบัญญัติฯ โดยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อ นี้ จะดำเนินการไปตลอดระยะเวลาของการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม

วิทยาลัยนานาชาติเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อ ที่เป็นข้อมูลที่ใช้ในดำเนินกิจกรรมของโครงการ ภายใต้หน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายของวิทยาลัยนานาชาติ นอกจากนี้ยังอาจเก็บข้อมูลอื่น ๆ เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้เข้าร่วมงาน โดยข้อมูลส่วนบุคคลที่จะเก็บรวบรวม ได้แก่

(1) รายละเอียดส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล คำนำหน้าชื่อ (รวมถึงชื่อและนามสกุลเดิม) ยศ วันเดือนปีเกิด สัญชาติ เพศ สถานที่เกิด เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขที่หนังสือเดินทาง รูปถ่าย สถานะการสมรส ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน รหัสประจำบ้าน ที่อยู่ปัจจุบัน หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล

(2) ประวัติการศึกษา เช่น คณะและภาควิชาที่สังกัด หลักสูตรและสาขาที่เข้าศึกษา ระดับการศึกษา แผนการศึกษา รายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน ระยะเวลาการศึกษา ระยะเวลาระหว่างศึกษา ชั้นปีที่ศึกษา และประวัติการเข้าสังกัดการศึกษา

(3) ประวัติการเข้าใช้งาน แคช (Cache) และคุกกี้ (Cookie) ในเบราว์เซอร์และการกระทำต่าง ๆ ในเว็บไซต์และระบบของวิทยาลัยนานาชาติ

4. การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยาลัยนานาชาติใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมตามภารกิจของวิทยาลัยนานาชาติ และการจัดกิจกรรมของโครงการ TNSC 2022 เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1) เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของโครงการ ในฐานะผู้เข้าร่วมโครงการ TNSC 2022 และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการ เช่น การออกเลขประจำตัวและการประกาศรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ ผู้ซื้อ การออกใบประกาศนียบัตร การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ การประกาศผลรางวัลและผู้ชนะ ผ่านทางสื่อช่องทางต่าง ๆ ของวิทยาลัยนานาชาติ และมหาวิทยาลัยรังสิต

(2) เพื่อดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ในฐานะผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การรับเงินรางวัล

(3) เพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน

(4) เพื่อแจ้งข่าวสารและกำหนดการที่เกี่ยวข้องให้ผู้เข้าแข่งขัน กรรมการ และผู้ซื้อรับทราบ

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยาลัยนานาชาติ อาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวมนั้นให้แก่ส่วนงานภายในและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยตามที่ได้รับการยินยอม หรือโดยเหตุผลความจำเป็นตามที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด ให้แก่กลุ่มบุคคลและ/หรือองค์กรดังต่อไปนี้

5.1 บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เช่น ทีมงานผู้จัดทำโครงการ อาจารย์เจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย/คณะ/ส่วนงาน จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบเท่านั้น เช่น การจัดทำประกาศนียบัตร การจัดทำเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ เอกสารรายงานโครงการ เป็นต้น โดยการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ต้องได้รับมอบหมายหรืออนุญาตจากคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ หรือผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมโครงการเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์การนำไปใช้งาน และแสดงความรับผิดชอบต่อข้อมูลที่ขอรับไป โดยต้องได้รับอนุญาตจากวิทยาลัยนานาชาติแล้วนั้น

5.2 บุคคลหรือองค์กรตามกฎหมายที่มีหน้าที่ใช้ข้อมูล

วิทยาลัยนานาชาติอาจส่งมอบข้อมูลให้แก่บุคคลหรือองค์กรตามกฎหมายที่มีหน้าที่ใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อมีการร้องขอข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานขององค์กรนั้น ๆ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ศาล พนักงานสอบสวน

5.3 บุคคลหรือองค์กรเอกชน

วิทยาลัยนานาชาติจะส่งมอบข้อมูลส่วนบุคคลของนิสิตให้แก่บุคคลหรือองค์กรเอกชน เมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของข้อมูล (data subject) เท่านั้น

6. การเก็บ ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data)

นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว วิทยาลัยนานาชาติไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 26 ในพระราชบัญญัติฯ ได้แก่ เชื้อชาติ ศาสนา ความพิการ และข้อมูลด้านสุขภาพ

7. การส่งและโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ

กรณีที่วิทยาลัยนานาชาติจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ อาทิ พันธมิตร และเครือข่ายการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ TNSC2022 หรือ โครงการ South-east Asian Sales Competition (SEASAC) ที่ริเริ่มโดย Eransmus+ วิทยาลัยนานาชาติจะดำเนินการเมื่อได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (data subject) เป็นลายลักษณ์อักษร หรือเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 28 และ 29 ของพระราชบัญญัติฯ เท่านั้น

8. ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยาลัยนานาชาติจะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภทไว้ในระยะเวลาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความจำเป็นในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น ระบุระยะเวลาการจัดเก็บ

9. มาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

วิทยาลัยนานาชาติมีมาตรการรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการเข้าถึง การใช้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไข และการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงป้องกันการสูญหายของข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีมาตรการดังต่อไปนี้

1) กำหนดและจำกัดสิทธิบุคลากรของวิทยาลัยนานาชาติในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่ระบุไว้ในข้อ 4

2) กระบวนการเก็บรักษาเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคล (hard copy) จะถูกจัดเก็บไว้ที่แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้อำนวยการของแต่ละฝ่ายดูแลและควบคุมการเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลนั้น ๆ ตามที่ระบุในข้อ 4

3) กระบวนการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลในฐานข้อมูลด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ที่มีตารางควบคุม ซึ่งมีผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นผู้กำหนดการให้สิทธิ์การเก็บรวบรวม ใช้ข้อมูล ตามนโยบายของวิทยาลัยนานาชาติ

4) กระบวนการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาตามที่จำเป็นตามที่ระบุไว้

5) มีระบบ Firewall ที่ทำหน้าที่ป้องกันการโจมตี บุกรุกจากภายนอก

6) มีระบบ server ที่ใช้การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลจำนวน 2 ชุดที่เชื่อมโยงกัน และสามารถทำงานทดแทนกันได้ โดยระบบทั้งสองอยู่ห่างกันมากกว่า 5 ช่วงอาคารหรือมากกว่า 500 เมตร เพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อมูลจะไม่สูญหาย อีกทั้งเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นที่ระบบใดระบบหนึ่ง โดยที่อีกระบบจะยังคงท างานได้ตามปกติ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ตามหมวดที่ 3 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ว่าด้วยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล นิสิตในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิดังต่อไปนี้

(1) สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล

(2) สิทธิในการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล

(3) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

(4) สิทธิในการลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่หมดความจำเป็น

(5) สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

(6) สิทธิในการเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

(7) สิทธิขอเพิกถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

(8) สิทธิขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม

(9) สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้

กรณีการขอแก้ไขข้อมูลภายต้อำนาจหน้าที่ของวิทยาลัยนานาชาติ ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินการยื่นเรื่องได้ที่วิทยาลัยนานาชาติโดยตรง

กรณีที่เป็นข้อมูลนอกเหนือจากนั้น เจ้าของข้อมูลสามารถติดต่อและยื่นคำร้องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของมหาวิทยาลัย

11. ความรับผิดชอบของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง และมีหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบันเสมอจนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ  

12. การปฏิเสธคำขอ

วิทยาลัยนานาชาติอาจจำเป็นต้องปฏิเสธคำขอของเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่การขอเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นภาระผูกพันตามสัญญาของมหาวิทยาลัย 

13.กฎหมายที่ใช้บังคับ

  ผู้เข้าร่วมงานรับทราบและตกลงว่าการเปิดเผย “ข้อมูลส่วนบุคคล” นี้ อยู่ภายใต้การบังคับและตีความตามกฎหมายไทย และศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาข้อพิพาทใดที่อาจเกิดขึ้น

14.การติดต่อสอบถามและการใช้สิทธิหากผู้เข้าร่วมงานมีข้อสงสัย ข้อเสนอแนะหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของวิทยาลัยนานาชาติหรือผู้เข้าร่วมงานต้องการใช้สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้เข้าร่วมงานสามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ที่วิทยาลัยนานาชาติสถานที่ติดต่อ :  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.วิภาวดี-รังสิต

ต.หลักหก อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000